เจาะประเด็น ปลูกผมแบบย้ายรากถาวรทำไมไม่แน่น

Table of Contents

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor

ปัญหาศีรษะล้าน-เถิก ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นสำหรับหลาย ๆ คนแน่นอน โดยเฉพาะผู้ที่ตัดสินใจเข้ารับการปลูกผมถาวร แสดงให้เห็นถึงความตระหนักในปัญหานี้แน่นอน แต่หากผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เป็นอย่างที่หวัง ก็คงน่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ผมจะพามาดูสาเหตุที่ปลูกผมแล้วหลังปลูกก็แน่นดี แต่พอเวลาผ่านไปทำไมดูบางลง

สาเหตุที่ปลูกผมแล้วออกมาไม่แน่นนั้นเกิดขึ้นได้จาก 3 ส่วนหลัก ๆ ก็คือ 1.การประเมินและการวางแผนการปลูก 2.เทคนิคที่ใช้ในการปลูกผม 3.การได้กินยาอย่างต่อเนื่องหลังการปลูกผมหรือไม่

การประเมินและการวางแผนการปลูกผม

ในการปลูกผมจะต้องมีการประเมินพื้นที่ที่ต้องการปลูก (recipient area) ว่ามีพื้นที่กว้างใหญ่แค่ไหน รวมถึงความหนาแน่นที่ต้องใช้ที่ต้องมีความสัมพันธ์กับจำนวนกราฟต์ผมที่คนคนนั้นสามารถนำออกมาปลูกได้ด้วย และการวางแผนการปลูกว่าจะปลูกบริเวณใดบ้าง เช่น ปลูกเฉพาะพื้นที่ว่างเปล่า ปลูกแทรกในบริเวณที่มีผมบางลงร่วมด้วยหรือไม่ เป็นต้น ทั้งหมดเป็นสิ่งที่จะต้องนำพิจารณาที่จะส่งผลต่อผลลัพธ์ที่จะออกมาทั้งสิ้น

เทคนิคที่ใช้ในการปลูกผม

เทคนิคและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกผมก็ส่งผลต่อความหนาแน่น อย่างการปลูกผมด้วยเทคนิค FUE แบบดั้งเดิมที่ไม่มีการตบแต่งนำเนื้อเยื่อหนังศีรษะที่ติดมากับกราฟต์ผมออก (hair graft trimming) ทำให้มีการกินพื้นที่รอบข้าง และหลังการปลูกเสร็จจะดูมีลักษณะคล้ายไข่ปลาในบริเวณที่ทำการปลูก ในขณะที่การปลูกด้วยเทคนิค DHI FUE ที่มีการใช้ DHI implanter ที่มีการใช้อุปกรณ์การเจาะดึงรากผมขนาดเล็กร่วมกับการตบแต่งนำเนื้อเยื่อของหนังศีรษะออกจากกราฟต์ผม ทำให้ได้กราฟต์ผมที่มีขนาดเล็กกว่า สามารถทำการปลูกให้มีความหนาแน่นได้มากกว่าและหลังการปลูกเสร็จทันทีมีลักษณะที่ดูสวยงาม ไม่มีลักษณะของไข่ปลาอย่างการปลูกด้วยเทคนิค FUE แบบดั้งเดิม

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่รอดของกราฟต์ผมที่นำปลูก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้น้ำยาในการแช่เลี้ยงกราฟต์ผม การควบคุมระยะเวลาในการปลูกไม่ให้กินเวลายาวนานเกินไป การควบคุมอุณหภูมิต่อกราฟต์ผม เป็นต้น ถ้ากราฟต์ผมมีชีวิตรอด ณ พื้นที่ที่ทำการปลูกน้อยก็จะส่งผลถึงความหนาแน่นของการปลูกผมอย่างแน่นอน

การได้กินยาอย่างต่อเนื่องหลังการปลูกหรือไม่

เนื่องจากการปลูกผมด้วยการย้ายรากผมจะเป็นการแก้ปัญหาเพียงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของหนังศีรษะ แต่ปัญหาผมบางศีรษะล้าน-เถิกจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมนเพศชาย (androgenetic alopecia) สามารถกินพื้นที่ศีรษะด้านบนได้ทั้งหมด (ลักษณะหัวล้านแบบขุนช้าง) ทำให้ภายหลังการปลูกผมที่ดูหนาแน่นดีหลังการปลูกในช่วงปีแรก ๆ เกิดความห่างตามมาได้จากเส้นผมที่อยู่เดิมตรงนั้นตั้งแต่แรกหายไปตามเวลา ถ้าไม่ได้มีการกินยาเพื่อลดอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายต่อรากผม ฉะนั้นแม้จะทำการปลูกผมถาวรไปแล้วก็ควรที่จะต้องกินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาเส้นผมที่ยังคงเหลืออยู่ด้านบนไม่ให้หายไปตามเวลาง่าย ๆ ต่อไป

สรุป ทำไมบางคนปลูกผมแล้วถึงบาง

จะเห็นได้ว่าปลูกผมไปแล้วผมไม่แน่นเหมือนกับตอนที่เพิ่งปลูกเสร็จใหม่ ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินก่อนการปลูกว่าจำนวนกราฟต์ผมที่มีนั้นเพียงพอกับพื้นที่ที่ต้องการแก้ไขหรือไม่ เทคนิคที่ใช้ในการปลูกได้ใช้เทคนิคที่ช่วยให้ปลูกได้แน่นมากขึ้นอย่าง DHI FUE รวมถึงการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตรอดของกราฟต์ผมหรือไม่ และการดูแลรักษาหลังการปลูกอย่างการกินยาเพื่อชะลอการหายไปของเส้นผมที่ยังเหลืออยู่หรือไม่

ปัญหาศีรษะล้าน-เถิก ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นสำหรับหลาย ๆ คนแน่นอน โดยเฉพาะผู้ที่ตัดสินใจเข้ารับการปลูกผมถาวร แสดงให้เห็นถึงความตระหนักในปัญหานี้แน่นอน แต่หากผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เป็นอย่างที่หวัง ก็คงน่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ผมจะพามาดูสาเหตุที่ปลูกผมแล้วหลังปลูกก็แน่นดี แต่พอเวลาผ่านไปทำไมดูบางลง

สาเหตุที่ปลูกผมแล้วออกมาไม่แน่นนั้นเกิดขึ้นได้จาก 3 ส่วนหลัก ๆ ก็คือ 1.การประเมินและการวางแผนการปลูก 2.เทคนิคที่ใช้ในการปลูกผม 3.การได้กินยาอย่างต่อเนื่องหลังการปลูกผมหรือไม่

การประเมินและการวางแผนการปลูกผม

ในการปลูกผมจะต้องมีการประเมินพื้นที่ที่ต้องการปลูก (recipient area) ว่ามีพื้นที่กว้างใหญ่แค่ไหน รวมถึงความหนาแน่นที่ต้องใช้ที่ต้องมีความสัมพันธ์กับจำนวนกราฟต์ผมที่คนคนนั้นสามารถนำออกมาปลูกได้ด้วย และการวางแผนการปลูกว่าจะปลูกบริเวณใดบ้าง เช่น ปลูกเฉพาะพื้นที่ว่างเปล่า ปลูกแทรกในบริเวณที่มีผมบางลงร่วมด้วยหรือไม่ เป็นต้น ทั้งหมดเป็นสิ่งที่จะต้องนำพิจารณาที่จะส่งผลต่อผลลัพธ์ที่จะออกมาทั้งสิ้น

เทคนิคที่ใช้ในการปลูกผม

เทคนิคและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกผมก็ส่งผลต่อความหนาแน่น อย่างการปลูกผมด้วยเทคนิค FUE แบบดั้งเดิมที่ไม่มีการตบแต่งนำเนื้อเยื่อหนังศีรษะที่ติดมากับกราฟต์ผมออก (hair graft trimming) ทำให้มีการกินพื้นที่รอบข้าง และหลังการปลูกเสร็จจะดูมีลักษณะคล้ายไข่ปลาในบริเวณที่ทำการปลูก ในขณะที่การปลูกด้วยเทคนิค DHI FUE ที่มีการใช้ DHI implanter ที่มีการใช้อุปกรณ์การเจาะดึงรากผมขนาดเล็กร่วมกับการตบแต่งนำเนื้อเยื่อของหนังศีรษะออกจากกราฟต์ผม ทำให้ได้กราฟต์ผมที่มีขนาดเล็กกว่า สามารถทำการปลูกให้มีความหนาแน่นได้มากกว่าและหลังการปลูกเสร็จทันทีมีลักษณะที่ดูสวยงาม ไม่มีลักษณะของไข่ปลาอย่างการปลูกด้วยเทคนิค FUE แบบดั้งเดิม

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่รอดของกราฟต์ผมที่นำปลูก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้น้ำยาในการแช่เลี้ยงกราฟต์ผม การควบคุมระยะเวลาในการปลูกไม่ให้กินเวลายาวนานเกินไป การควบคุมอุณหภูมิต่อกราฟต์ผม เป็นต้น ถ้ากราฟต์ผมมีชีวิตรอด ณ พื้นที่ที่ทำการปลูกน้อยก็จะส่งผลถึงความหนาแน่นของการปลูกผมอย่างแน่นอน

การได้กินยาอย่างต่อเนื่องหลังการปลูกหรือไม่

เนื่องจากการปลูกผมด้วยการย้ายรากผมจะเป็นการแก้ปัญหาเพียงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของหนังศีรษะ แต่ปัญหาผมบางศีรษะล้าน-เถิกจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมนเพศชาย (androgenetic alopecia) สามารถกินพื้นที่ศีรษะด้านบนได้ทั้งหมด (ลักษณะหัวล้านแบบขุนช้าง) ทำให้ภายหลังการปลูกผมที่ดูหนาแน่นดีหลังการปลูกในช่วงปีแรก ๆ เกิดความห่างตามมาได้จากเส้นผมที่อยู่เดิมตรงนั้นตั้งแต่แรกหายไปตามเวลา ถ้าไม่ได้มีการกินยาเพื่อลดอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายต่อรากผม ฉะนั้นแม้จะทำการปลูกผมถาวรไปแล้วก็ควรที่จะต้องกินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาเส้นผมที่ยังคงเหลืออยู่ด้านบนไม่ให้หายไปตามเวลาง่าย ๆ ต่อไป

สรุป ทำไมบางคนปลูกผมแล้วถึงบาง

จะเห็นได้ว่าปลูกผมไปแล้วผมไม่แน่นเหมือนกับตอนที่เพิ่งปลูกเสร็จใหม่ ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินก่อนการปลูกว่าจำนวนกราฟต์ผมที่มีนั้นเพียงพอกับพื้นที่ที่ต้องการแก้ไขหรือไม่ เทคนิคที่ใช้ในการปลูกได้ใช้เทคนิคที่ช่วยให้ปลูกได้แน่นมากขึ้นอย่าง DHI FUE รวมถึงการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตรอดของกราฟต์ผมหรือไม่ และการดูแลรักษาหลังการปลูกอย่างการกินยาเพื่อชะลอการหายไปของเส้นผมที่ยังเหลืออยู่หรือไม่

Facebook
Twitter
LinkedIn
Facebook
Twitter
LinkedIn
Share the Post:

Related Posts

Rejuvenation Therapy

การดูแลตัวเอง ก่อน-หลัง ปลูกผม

สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจจะปลูกผม สิ่งแรกที่ต้องทราบเลยก็คือ ก่อนปลูกผมต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้การปลูกผมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด รวมไปถึงหลังปลูกผมเราต้องดูแลอย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของคนไข้ให้มากที่สุด เ

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ครับ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

Save