เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเส้นผมและการยับยั้งผมหลุดร่วง

Table of Contents

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor

รู้จักเส้นผมของคุณ

ตามหลักชีววิทยาเส้นผม ผมแต่ละเส้นประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก

เกล็ดผม

เกล็ดผมคือชั้นนอกสุดของเส้นผมประกอบขึ้นจากเซลล์เคราตินที่เรียงซ้อนกันหลายชั้น หน้าที่หลักของเกล็ดผมคือปกป้องเนื้อผมจากการถูกทำลาย สภาวะของเกล็ดผม มีผลต่อความแข็งแรงของเส้นผม เนื่องจากเกล็ดผมเป็นส่วนที่เรามองเห็นและสัมผัส เป็นตัวกำหนดลักษณะของเส้นผม เช่น ความเรียบลื่น ความเงางาม และความยากง่ายในการจัดทรง เมื่อเกล็ดผมถูกทำลาย ผมจะดูไม่เงางาม แห้งเสีย และชี้ฟู เกล็ดผมสุขภาพดี จึงเป็นหัวใจสำคัญสู่การมีผมสวย

เนื้อผม

ภายใต้ชั้นเกล็ดผมคือเนื้อผม ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเส้นผม เนื้อผมประกอบด้วยเส้นใยเคราตินสายยาวหลายสายที่ยึดเกาะกันด้วยกาวธรรมชาติของเส้นผม ที่เรียกว่า เซลล์เมมเบรน คอมเพล็กซ์ (Cell membrane complex) ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และผิวสัมผัสของเส้นผมถูกกำหนดโดยเนื้อผม นอกจากนี้ ในเนื้อผมยังมีเม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นตัวกำหนดสีผม ถ้าเนื้อผมถูกทำลาย เส้นผมจะอ่อนแอ และเปราะบาง ทำให้ขาดร่วงได้ง่ายและการเกิดผมแตกปลาย

แกนผม

ที่ใจกลางของเส้นผมคือแกนผม ซึ่งมีโครงสร้างเปิดเป็นรูกลวง แต่อาจไม่ได้มีอยู่ ตลอดความยาวของเส้นผม โครงสร้างที่เป็นรูกลวง เพิ่มความหนาให้กับผม

องค์ประกอบของเส้นผม

เส้นผมเกิดจากส่วนประกอบหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะ

โปรตีน

โปรตีน คือ โพลีเมอร์ขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากกรดอะมิโนต่อกันเป็นสายยาวและซับซ้อน โดยองค์ประกอบหลักของผมคือโปรตีนเคราติน ซึ่งจะบ่งบอกถึง ความแข็งแรงโดยรวมของเส้นผม

น้ำ

เมื่อเส้นผมมีองค์ประกอบน้ำสูง เส้นผมจะยิ่งมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเช่นกัน

เมลานิน

เป็นตัวกำหนดสีผม ผมขาวเกิดจากการผลิตเม็ดสีเมลานินลดลงหรือหยุดการผลิตเม็ดสีเมลานิน

ลิพิด (ไขมัน)

เปรียบเสมือน “กาวเชื่อม” ที่ยึดผมเข้าไว้ด้วยกัน ลิพิดเป็นเกราะป้องกันการสูญเสียความชื้นจากเส้นผม และช่วยให้เกล็ดผมต้านทานต่อการเสียดสีที่ทำร้ายเส้นผม

ผมยาวขึ้นได้อย่างไร

เส้นผมเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เกิดจากการรวมกันของเซลล์เคราตินที่ตายแล้ว เส้นผมงอกออกจากต่อมรากผมที่อยู่ในหนังศีรษะ ในขณะที่ต่อมรากผมผลิตเซลล์ผมใหม่ เซลล์เก่าจะถูกดันออก ผ่านทางด้านบนของผิวหนัง ผมยาวขึ้นในอัตราประมาณ 6 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตรต่อปี บนศีรษะของผู้ใหญ่มีเส้นผมเฉลี่ยประมาณ 100,000 ถึง 150,000 เส้น และในแต่ละวันเส้นผมจะหลุดร่วงออกได้มากถึง 100 เส้น

รากผมแต่ละต่อมจะมีวงจรการงอกของตัวเองซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยของอายุ โรค และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย วงจรการงอกของเส้นผมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเจริญเติบโต ระยะหยุดเจริญเติบโต และระยะหลุดร่วง

ระยะเจริญเติบโต (Anagen)

ระยะเจริญเติบโตจะคงอยู่เป็นเวลา 2-6 ปี ช่วงระยะเวลานี้ถูกกำหนดไว้แล้วโดยพันธุกรรม ยิ่งต่อมรากผมอยู่ในระยะเจริญเติบโตนานเท่าไร เส้นผมจะยิ่งงอกได้ยาวมากเท่านั้น ผู้ที่มีระยะเจริญเติบโตของเส้นผมยาวนานจะมีผมที่งอกได้ยาวกว่าผู้ที่มีระยะเจริญเติบโตของเส้นผมสั้น ประมาณ 90% ของเส้นผมบนหนังศีรษะของเราจะอยู่ในระยะนี้

ระยะหยุดเจริญเติบโต (Catagen)

ระยะหยุดเจริญเติบโตคือระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างระยะเจริญเติบโตและระยะหลุดร่วง ซึ่งคงอยู่เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เส้นผม จะหยุดงอกและพักให้ต่อมรากผมได้ฟื้นบำรุงตัวเอง ในระหว่างระยะหยุดเจริญเติบโตต่อมรากผมจะหดตัว ส่งผลให้เส้นผมถูกดันขึ้นด้านบน

ระยะหลุดร่วง (Telogen)

ระยะหลุดร่วงคือระยะพัก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-4 เดือน เมื่อสิ้นสุดระยะพัก เส้นผมจะหลุดร่วงออกและมีผมเส้นใหม่ งอกขึ้นมาแทนที่ ต่อมรากผมกลับเข้าสู่ระยะเจริญเติบโตและเริ่มต้นวงจรการงอกใหม่ของเส้นผมอีกครั้ง

วงจรการงอกของเส้นผมทั้ง 3 ระยะนี้เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วทั้งหนังศีรษะ ผมเส้นหนึ่งอาจอยู่ในระยะเจริญเติบโต ในขณะที่บริเวณผมด้านข้างอยู่ในระยะพัก ซึ่งวงจรของผมเป็นสิ่งที่อธิบายว่า เหตุใดเราจึงสังเกตเห็นผมจำนวนหนึ่งหลุดติดออกมากับหวีทุกวัน ในขณะที่เส้นผมของเรายังคงดูหนาแน่นเต็มศีรษะอยู่

เคล็ดลับการยับยั้งวงจรผมหลุดร่วง

สำหรับใครที่ยังอายุน้อยหรือยังไม่ล้านเถิก ถึงจุดที่ต้องปลูกผม ก็จะมีเคล็ดลับอยู่ที่ ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมนั่นเอง โดยการยับยั้งผมร่วงก่อนเวลาอันควรก็จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1. การรักษาฟื้นฟูเส้นผม 2. การรักษาเพื่อยับยั้งผมร่วง และ การรักษาสมดุลเอนไซม์ 5α-Reductase

  • การรักษาฟื้นฟูเส้นผม – สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยการรักษาสุมดุลระหว่างผมที่กำลังเจริญเติบโต และผมที่กำลังหลุดร่วง สามารถเจอได้ในแชมพูที่มีสารจำพวก Redensyl (ทำให้เส้นผมเจริญเติบโตด้วยการสร้างเซลล์ใหม่และเพิ่มจำนวนการงอก), AnaGain (ลดการหลุดร่วงของเส้นผมด้วยการกระตุ้นให้เกิดการงอกของ เส้นผมใหม่), Dermosaccharides GY (แหล่งพลังงานที่จำเป็นสำหรับต่อมรากผม)
  • การรักษาเพื่อยับยั้งผมร่วง –สำหรับท่านที่ผมเริ่มร่วง จนเริ่มเป็นปัญหานั้น การรักษาด้วย PRP เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดเพราะว่า จะทำให้ผมแข็งแรงตั้งแต่รากผม โดยอาศัยหลักการใช้ Growth Factor ที่ได้จากเกล็ดเลือดของตัวคนไข้เอง เข้าไปกระตุ้นเซลล์รากผมให้แข็งแรงขึ้น เพื่อลดอัตราการหลุดร่วงของเส้นผม
  • การรักษาระยะที่ผมบาง – สำหรับท่านที่ผมหลุดร่วงไปแล้วจนเกิดอาการ “หัวไข่ดาว” หรือ อาการผมบางบริเวณกลางศีรษะ สามารถรักษาด้วยการ ปลูกผมแบบ ReCell Hair Micro Transplant ที่จะเป็นการรักษาแบบเซลล์บำบัด ที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อรากผม ของตัวเราเองไปผ่านกระบวนทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มจำนวนก่อนจะฉีดไปบริเวณที่มีปัญหา เพื่อเป็นการกระตุ้นเซลล์รากผมที่อ่อนแอ ให้กลับมาแข็งแรง เพื่อช่วยการสร้างการงกใหม่ของเส้นผม ให้กลับมาดกหนาอีกครั้ง

รู้จักเส้นผมของคุณ

ตามหลักชีววิทยาเส้นผม ผมแต่ละเส้นประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก

เกล็ดผม

เกล็ดผมคือชั้นนอกสุดของเส้นผมประกอบขึ้นจากเซลล์เคราตินที่เรียงซ้อนกันหลายชั้น หน้าที่หลักของเกล็ดผมคือปกป้องเนื้อผมจากการถูกทำลาย สภาวะของเกล็ดผม มีผลต่อความแข็งแรงของเส้นผม เนื่องจากเกล็ดผมเป็นส่วนที่เรามองเห็นและสัมผัส เป็นตัวกำหนดลักษณะของเส้นผม เช่น ความเรียบลื่น ความเงางาม และความยากง่ายในการจัดทรง เมื่อเกล็ดผมถูกทำลาย ผมจะดูไม่เงางาม แห้งเสีย และชี้ฟู เกล็ดผมสุขภาพดี จึงเป็นหัวใจสำคัญสู่การมีผมสวย

เนื้อผม

ภายใต้ชั้นเกล็ดผมคือเนื้อผม ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเส้นผม เนื้อผมประกอบด้วยเส้นใยเคราตินสายยาวหลายสายที่ยึดเกาะกันด้วยกาวธรรมชาติของเส้นผม ที่เรียกว่า เซลล์เมมเบรน คอมเพล็กซ์ (Cell membrane complex) ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และผิวสัมผัสของเส้นผมถูกกำหนดโดยเนื้อผม นอกจากนี้ ในเนื้อผมยังมีเม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นตัวกำหนดสีผม ถ้าเนื้อผมถูกทำลาย เส้นผมจะอ่อนแอ และเปราะบาง ทำให้ขาดร่วงได้ง่ายและการเกิดผมแตกปลาย

แกนผม

ที่ใจกลางของเส้นผมคือแกนผม ซึ่งมีโครงสร้างเปิดเป็นรูกลวง แต่อาจไม่ได้มีอยู่ ตลอดความยาวของเส้นผม โครงสร้างที่เป็นรูกลวง เพิ่มความหนาให้กับผม

องค์ประกอบของเส้นผม

เส้นผมเกิดจากส่วนประกอบหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะ

โปรตีน

โปรตีน คือ โพลีเมอร์ขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากกรดอะมิโนต่อกันเป็นสายยาวและซับซ้อน โดยองค์ประกอบหลักของผมคือโปรตีนเคราติน ซึ่งจะบ่งบอกถึง ความแข็งแรงโดยรวมของเส้นผม

น้ำ

เมื่อเส้นผมมีองค์ประกอบน้ำสูง เส้นผมจะยิ่งมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเช่นกัน

เมลานิน

เป็นตัวกำหนดสีผม ผมขาวเกิดจากการผลิตเม็ดสีเมลานินลดลงหรือหยุดการผลิตเม็ดสีเมลานิน

ลิพิด (ไขมัน)

เปรียบเสมือน “กาวเชื่อม” ที่ยึดผมเข้าไว้ด้วยกัน ลิพิดเป็นเกราะป้องกันการสูญเสียความชื้นจากเส้นผม และช่วยให้เกล็ดผมต้านทานต่อการเสียดสีที่ทำร้ายเส้นผม

ผมยาวขึ้นได้อย่างไร

เส้นผมเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เกิดจากการรวมกันของเซลล์เคราตินที่ตายแล้ว เส้นผมงอกออกจากต่อมรากผมที่อยู่ในหนังศีรษะ ในขณะที่ต่อมรากผมผลิตเซลล์ผมใหม่ เซลล์เก่าจะถูกดันออก ผ่านทางด้านบนของผิวหนัง ผมยาวขึ้นในอัตราประมาณ 6 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตรต่อปี บนศีรษะของผู้ใหญ่มีเส้นผมเฉลี่ยประมาณ 100,000 ถึง 150,000 เส้น และในแต่ละวันเส้นผมจะหลุดร่วงออกได้มากถึง 100 เส้น

รากผมแต่ละต่อมจะมีวงจรการงอกของตัวเองซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยของอายุ โรค และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย วงจรการงอกของเส้นผมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเจริญเติบโต ระยะหยุดเจริญเติบโต และระยะหลุดร่วง

ระยะเจริญเติบโต (Anagen)

ระยะเจริญเติบโตจะคงอยู่เป็นเวลา 2-6 ปี ช่วงระยะเวลานี้ถูกกำหนดไว้แล้วโดยพันธุกรรม ยิ่งต่อมรากผมอยู่ในระยะเจริญเติบโตนานเท่าไร เส้นผมจะยิ่งงอกได้ยาวมากเท่านั้น ผู้ที่มีระยะเจริญเติบโตของเส้นผมยาวนานจะมีผมที่งอกได้ยาวกว่าผู้ที่มีระยะเจริญเติบโตของเส้นผมสั้น ประมาณ 90% ของเส้นผมบนหนังศีรษะของเราจะอยู่ในระยะนี้

ระยะหยุดเจริญเติบโต (Catagen)

ระยะหยุดเจริญเติบโตคือระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างระยะเจริญเติบโตและระยะหลุดร่วง ซึ่งคงอยู่เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เส้นผม จะหยุดงอกและพักให้ต่อมรากผมได้ฟื้นบำรุงตัวเอง ในระหว่างระยะหยุดเจริญเติบโตต่อมรากผมจะหดตัว ส่งผลให้เส้นผมถูกดันขึ้นด้านบน

ระยะหลุดร่วง (Telogen)

ระยะหลุดร่วงคือระยะพัก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-4 เดือน เมื่อสิ้นสุดระยะพัก เส้นผมจะหลุดร่วงออกและมีผมเส้นใหม่ งอกขึ้นมาแทนที่ ต่อมรากผมกลับเข้าสู่ระยะเจริญเติบโตและเริ่มต้นวงจรการงอกใหม่ของเส้นผมอีกครั้ง

วงจรการงอกของเส้นผมทั้ง 3 ระยะนี้เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วทั้งหนังศีรษะ ผมเส้นหนึ่งอาจอยู่ในระยะเจริญเติบโต ในขณะที่บริเวณผมด้านข้างอยู่ในระยะพัก ซึ่งวงจรของผมเป็นสิ่งที่อธิบายว่า เหตุใดเราจึงสังเกตเห็นผมจำนวนหนึ่งหลุดติดออกมากับหวีทุกวัน ในขณะที่เส้นผมของเรายังคงดูหนาแน่นเต็มศีรษะอยู่

เคล็ดลับการยับยั้งวงจรผมหลุดร่วง

สำหรับใครที่ยังอายุน้อยหรือยังไม่ล้านเถิก ถึงจุดที่ต้องปลูกผม ก็จะมีเคล็ดลับอยู่ที่ ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมนั่นเอง โดยการยับยั้งผมร่วงก่อนเวลาอันควรก็จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1. การรักษาฟื้นฟูเส้นผม 2. การรักษาเพื่อยับยั้งผมร่วง และ การรักษาสมดุลเอนไซม์ 5α-Reductase

  • การรักษาฟื้นฟูเส้นผม – สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยการรักษาสุมดุลระหว่างผมที่กำลังเจริญเติบโต และผมที่กำลังหลุดร่วง สามารถเจอได้ในแชมพูที่มีสารจำพวก Redensyl (ทำให้เส้นผมเจริญเติบโตด้วยการสร้างเซลล์ใหม่และเพิ่มจำนวนการงอก), AnaGain (ลดการหลุดร่วงของเส้นผมด้วยการกระตุ้นให้เกิดการงอกของ เส้นผมใหม่), Dermosaccharides GY (แหล่งพลังงานที่จำเป็นสำหรับต่อมรากผม)
  • การรักษาเพื่อยับยั้งผมร่วง –สำหรับท่านที่ผมเริ่มร่วง จนเริ่มเป็นปัญหานั้น การรักษาด้วย PRP เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดเพราะว่า จะทำให้ผมแข็งแรงตั้งแต่รากผม โดยอาศัยหลักการใช้ Growth Factor ที่ได้จากเกล็ดเลือดของตัวคนไข้เอง เข้าไปกระตุ้นเซลล์รากผมให้แข็งแรงขึ้น เพื่อลดอัตราการหลุดร่วงของเส้นผม
  • การรักษาระยะที่ผมบาง – สำหรับท่านที่ผมหลุดร่วงไปแล้วจนเกิดอาการ “หัวไข่ดาว” หรือ อาการผมบางบริเวณกลางศีรษะ สามารถรักษาด้วยการ ปลูกผมแบบ ReCell Hair Micro Transplant ที่จะเป็นการรักษาแบบเซลล์บำบัด ที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อรากผม ของตัวเราเองไปผ่านกระบวนทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มจำนวนก่อนจะฉีดไปบริเวณที่มีปัญหา เพื่อเป็นการกระตุ้นเซลล์รากผมที่อ่อนแอ ให้กลับมาแข็งแรง เพื่อช่วยการสร้างการงกใหม่ของเส้นผม ให้กลับมาดกหนาอีกครั้ง
Facebook
Twitter
LinkedIn
Facebook
Twitter
LinkedIn
Share the Post:

Related Posts

Rejuvenation Therapy

การดูแลตัวเอง ก่อน-หลัง ปลูกผม

สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจจะปลูกผม สิ่งแรกที่ต้องทราบเลยก็คือ ก่อนปลูกผมต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้การปลูกผมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด รวมไปถึงหลังปลูกผมเราต้องดูแลอย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของคนไข้ให้มากที่สุด เ

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ครับ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

Save