Shock Loss คืออะไร?

Table of Contents

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor

สำหรับหลาย ๆ คนที่ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผม ผมเชื่อว่าต้องเคยพบกับคำว่า shock loss หรืออาการผมร่วงหลังปลูกผมแน่ ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่ และจะมีผลกับเราต่อไปหรือไม่ มาติดตามกันในบทความนี้ครับ

ผมร่วงหลังการปลูกผมแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ

1.     ผมร่วงในบริเวณที่ปลูกผม

ไม่ว่าจะเป็นส่วนหน้า (ล้าน-เถิก) หรือด้านบน (หัวไข่ดาว) ในบริเวณนี้เราไม่ได้เรียกว่า shock loss เพราะผมบริเวณนี้จะร่วงอยู่แล้ว (อาจใช้คำว่า Graft Shedding) เมื่อเซลล์รากผมที่ทำการปลูก “ปลูกติดสนิท” กับบริเวณที่ผิวหนังของเราแล้วก็จะค่อย ๆ เริ่มวัฏจักรของผมใหม่ โดยปกติผมที่ปลูกนี้จะหลุดร่วงในช่วง 1-2 เดือนแรกภายหลังการปลูกผม แต่สำหรับท่านที่่ผมบาง แล้วปลูกด้วย ReCell ไม่ต้องกังวลปัญหานี้นะครับ

2.     ผมร่วงนอกบริเวณที่ปลูกผม

ส่วนนี้คือสิ่งที่เรียกว่า Shock Loss (หรือ Postsurgical Effluvium Of Preexisting Hair) อาจเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณที่มีการดึงผมออกมา (Donor Area) รวมถึงบริเวณอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ กับบริเวณที่หนังศีรษะถูกสร้างบาดแผลจากการปลูกผม สาเหตุนั้นก็เป็นเพราะว่าการสร้างบาดแผลจากการปลูกผมอาจไปสร้างความกระทบกระเทือนต่อเส้นเลือดเล็ก ๆ ใต้หนังศีรษะ ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงยังพื้นที่ที่ไกลออกไปน้อยกว่าปกติ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล แต่ไม่ต้องกังวลเพราะผมเหล่านั้นจะค่อย ๆ งอกกลับมาใหม่อีกครั้ง โดยทั่วไปจะงอกใหม่พร้อม ๆ กับผมที่ทำการปลูกไป

โดยปกติหากรับการปลูกผมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะไม่เกิดปัญหาผมไม่งอกในบริเวณดังกล่าว แต่หากผมเหล่านี้ไม่ขึ้นใหม่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ที่ทำการปลูกผมให้ว่าเหตุเกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันเวลา

สำหรับคนไข้ที่ต้องการลดผลกระทบจากการเกิด Shock Loss สามารถเริ่มใช้ Minoxidil แบบทาที่บริเวณหนังศีรษะหลังการปลูกผมไปแล้ว 4-7 วันได้ครับ หรืออาจจะใช้ร่วมกับยาหรือวิตามินแบบกิน โดยควรจะปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อหาแนวทางการกินยาที่ถูกต้อง ไม่ควรไปซื้อยามากินด้วยตนเองเพราะว่าการกินยาจำพวก Minoxidil หรือ Finasteride นั้นอาจจะมีผลข้างเคียงที่เกิดจากการกินผิดขนาด หรือเลิกยาแบบทันทีที่จะทำให้ผลเสียเกิดขึ้นได้ครับ

อีกเรื่องหนึ่งที่หมอขอเน้นย้ำก็คือการกินอาหารให้ครับทั้ง 5 หมู่ และอย่าลืมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ไบโอติน (Biotin) ที่อยู่ในกลุ่มของวิตามินที่มีผลต่อเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นผมหรือผิวก็ตาม ไบโอตินยังสามารถเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างผมได้อีกด้วย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไบโอติน เช่น ไข่แดง หรือเนื้อสัตว์สีแดง (เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว) และอย่าลืมแร่ธาตุต่าง ๆ (Trace Element) หรือก็คือแร่ธาตุที่ไม่ต้องการจำนวนมากต่อวัน เช่น ธาตุเหล็ก (Iron) ซีลีเนียม (Selenium) สังกะสี (Zinc) เป็นต้น ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ช่วยให้เซลล์ที่มีการแบ่งตัวบ่อย ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ

สำหรับหลาย ๆ คนที่ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผม ผมเชื่อว่าต้องเคยพบกับคำว่า shock loss หรืออาการผมร่วงหลังปลูกผมแน่ ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่ และจะมีผลกับเราต่อไปหรือไม่ มาติดตามกันในบทความนี้ครับ

ผมร่วงหลังการปลูกผมแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ

1.     ผมร่วงในบริเวณที่ปลูกผม

ไม่ว่าจะเป็นส่วนหน้า (ล้าน-เถิก) หรือด้านบน (หัวไข่ดาว) ในบริเวณนี้เราไม่ได้เรียกว่า shock loss เพราะผมบริเวณนี้จะร่วงอยู่แล้ว (อาจใช้คำว่า Graft Shedding) เมื่อเซลล์รากผมที่ทำการปลูก “ปลูกติดสนิท” กับบริเวณที่ผิวหนังของเราแล้วก็จะค่อย ๆ เริ่มวัฏจักรของผมใหม่ โดยปกติผมที่ปลูกนี้จะหลุดร่วงในช่วง 1-2 เดือนแรกภายหลังการปลูกผม แต่สำหรับท่านที่่ผมบาง แล้วปลูกด้วย ReCell ไม่ต้องกังวลปัญหานี้นะครับ

2.     ผมร่วงนอกบริเวณที่ปลูกผม

ส่วนนี้คือสิ่งที่เรียกว่า Shock Loss (หรือ Postsurgical Effluvium Of Preexisting Hair) อาจเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณที่มีการดึงผมออกมา (Donor Area) รวมถึงบริเวณอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ กับบริเวณที่หนังศีรษะถูกสร้างบาดแผลจากการปลูกผม สาเหตุนั้นก็เป็นเพราะว่าการสร้างบาดแผลจากการปลูกผมอาจไปสร้างความกระทบกระเทือนต่อเส้นเลือดเล็ก ๆ ใต้หนังศีรษะ ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงยังพื้นที่ที่ไกลออกไปน้อยกว่าปกติ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล แต่ไม่ต้องกังวลเพราะผมเหล่านั้นจะค่อย ๆ งอกกลับมาใหม่อีกครั้ง โดยทั่วไปจะงอกใหม่พร้อม ๆ กับผมที่ทำการปลูกไป

โดยปกติหากรับการปลูกผมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะไม่เกิดปัญหาผมไม่งอกในบริเวณดังกล่าว แต่หากผมเหล่านี้ไม่ขึ้นใหม่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ที่ทำการปลูกผมให้ว่าเหตุเกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันเวลา

สำหรับคนไข้ที่ต้องการลดผลกระทบจากการเกิด Shock Loss สามารถเริ่มใช้ Minoxidil แบบทาที่บริเวณหนังศีรษะหลังการปลูกผมไปแล้ว 4-7 วันได้ครับ หรืออาจจะใช้ร่วมกับยาหรือวิตามินแบบกิน โดยควรจะปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อหาแนวทางการกินยาที่ถูกต้อง ไม่ควรไปซื้อยามากินด้วยตนเองเพราะว่าการกินยาจำพวก Minoxidil หรือ Finasteride นั้นอาจจะมีผลข้างเคียงที่เกิดจากการกินผิดขนาด หรือเลิกยาแบบทันทีที่จะทำให้ผลเสียเกิดขึ้นได้ครับ

อีกเรื่องหนึ่งที่หมอขอเน้นย้ำก็คือการกินอาหารให้ครับทั้ง 5 หมู่ และอย่าลืมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ไบโอติน (Biotin) ที่อยู่ในกลุ่มของวิตามินที่มีผลต่อเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นผมหรือผิวก็ตาม ไบโอตินยังสามารถเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างผมได้อีกด้วย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไบโอติน เช่น ไข่แดง หรือเนื้อสัตว์สีแดง (เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว) และอย่าลืมแร่ธาตุต่าง ๆ (Trace Element) หรือก็คือแร่ธาตุที่ไม่ต้องการจำนวนมากต่อวัน เช่น ธาตุเหล็ก (Iron) ซีลีเนียม (Selenium) สังกะสี (Zinc) เป็นต้น ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ช่วยให้เซลล์ที่มีการแบ่งตัวบ่อย ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ

Facebook
Twitter
LinkedIn
Facebook
Twitter
LinkedIn
Share the Post:

Related Posts

Rejuvenation Therapy

การดูแลตัวเอง ก่อน-หลัง ปลูกผม

สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจจะปลูกผม สิ่งแรกที่ต้องทราบเลยก็คือ ก่อนปลูกผมต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้การปลูกผมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด รวมไปถึงหลังปลูกผมเราต้องดูแลอย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของคนไข้ให้มากที่สุด เ

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ครับ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

Save